“เปิดศูนย์เรียนรู้และเผยแพร่ วิถีชีวิต อัตลักษณ์ และผลิตภัณฑ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง”

Business

バンコクの政府機関である社会開発局は、山岳民族の生活やそこで作られる織物などの品々を一般の方々にも広く知ってもらうために、山岳民族学習センターを開設しました。

กรมพส. บูรณาการสำนักงานธนานุเคราะห์ “เปิดศูนย์เรียนรู้และเผยแพร่ วิถีชีวิต อัตลักษณ์ และผลิตภัณฑ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง”

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2562 เวลา 15.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีราษฎรบนพื้นที่สูง ดินแดงกรุงเทพมหานคร นายอนันต์ ดนตรี รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นประธานพิธีเปิด ศูนย์เรียนรู้วิถีราษฎรบนพื้นที่สูง โดยมีนายชูรินทร์ ขวัญทอง รองอธิบดี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมพัฒนาสังคมสวัสดิการ หน่วยงานภาคีเครือข่าย และราษฎรบนพื้นที่สูง รวมทั้งสิ้น 70 คน ร่วมเป็นเกียรติ


นายอนันต์ กล่าวว่ากรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ มีภารกิจในการพัฒนารูปแบบ แนวทางการพัฒนาสังคมกลุ่มราษฎรบนพื้นที่สูง และส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งประสานการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมแก่กลุ่มราษฎรบนพื้นที่สูง การดำเนินงานที่สำคัญมีทั้งการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมบนพื้นที่สูง การส่งเสริมแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า การส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพ ตามวิถีชุมชนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูงด้วยการท่องเที่ยวภูมิวัฒนธรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่สำคัญ คือ ราษฎรบนพื้นที่สูงมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับภูมิสังคม เป็นการพัฒนาบนฐานรากและวิถีดั้งเดิมอันเต็มเปี่ยมไปด้วยอัตลักษณ์และคุณค่าที่ควรแก่การรักษา พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้วิถีราษฎรบนพื้นที่สูงในวันนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานธนานุเคราะห์ ให้เกิดคุณูปการอย่างมากต่อราษฎรบนพื้นที่สูงในพื้นที่ 20 จังหวัด ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิต อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีและผลิตภัณฑ์ชนเผ่าของราษฎรบนพื้นที่สูง ซึ่งในเดือนกันยายน นี้ เป็นการจัดนิทรรศการหมุนเวียนในเรื่องรวมเกี่ยวกับชนเผ่าเมี่ยน โดยศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนั้น ยังมีจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชนเผ่า

นาง นภา เศรษฐกร เข้าเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง

จากนั้นเวลา 17.00 น. นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พร้อมด้วยนางจินตนา จันทร์บำรุง รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้วิถีราษฎรบนพื้นที่สูง ซึ่งศูนย์เรียนรู้วิถีราษฎรบนพื้นที่สูงจัดขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและอัตลักษณ์ชนเผ่าของราษฎรบนพื้นที่สูง รวมทั้งเป็นสถานที่ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของราษฎรบนพื้นที่สูงทั้ง 10 ชนเผ่า